คุณเกียรตินิยม ปรางค์ทอง
เจ้าของสำนักงานของโรงพยาบาลปัญญาเวช
ฉบับนี้เรามาเปิดสำนักงานตัวแทนของคุณเกียรตินิยม ปรางค์ทอง ตั้งอยู่ที่ โรงพยาบาลปัญญาเวชอินเตอร์ (ชั้น2) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรราชธานี ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากสำนักงานตัวแทนอื่นๆ ตรงที่เปิดเผยภายในโรงพยาบาลถึงแม้สำนักงานแห่งนี้จะไม่ได้อยู่ภายนอกที่คนทั่วไปสัญจรจะสังเกตเห็นได้โดยง่าย แต่คุณเกียรตินิยมยืนยันว่าที่นี่มีความสะดวกสะบาย และเหมาะสมกับการเปิดสำนักงานตัวแทนไม่แพ้ที่ใดๆเช่นกัน
สู้ชีวิตเพื่ออนาคตในวันข้างหน้า
“ผมเป็นสกลนคร พ่อแม่มีอาชีพทำนาฐานะยากจนเพราะมีพี่น้องหลายคน มีโอกาสได้เรียนแค่ชั้นมัธยม 3 ถือว่าได้รับการศึกษาสูงในระดับหนึ่งในสมัยนั้น ออกจากบ้านหางานทำตั้งแต่อายุยังน้อย จำได้ว่ามีเงินเดือนเริ่มต้นที่250 บาทไม่รู้ว่าจะทำอาชีพอะไร เพราะไม่มีใครมาชี้แนะไม่มีต้นแบบทำงานจะทำทุกอย่างที่ขวางหน้า คือเอาผิดเป็นครูมาเป็นประสบการณ์”
“ยุคสงครามเวียดนาม มีทหารอเมริกันมาตั้งฐานทัพที่ภาคอิสานเยอะมาก เช่นอุดรธานีนครพนมและอีกหลายพื้นที่ในภาคอิสาน เห็นเขาเปิดร้านตัดเสื้อผ้า มีลูกค้าฝรั่งเข้ามาตัดเยอะแน่นเกือบทุกร้าน เขาบอกมีรายได้ดี ผมก็อยากหาอาชีพที่มีรายได้ดี จึงไปเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าออกแบบดีไชน์จนเป็นที่ยอมรับจของเจ้าของร้านเมื่อเราย้ายไปอยุ่ไหนก็มีพวกเมียเช่าฝรั่งตามไปเป็นลูกค้าจนรับงานไม่ไหว พอมีทุนก็เปิดร้านเป็นของตัวเอง มีลูกน้องเยอะเต็มร้าน เมื่อทหารอเมริกันย้ายกลับบ้านก็ทำให้ธุรกิจซบเช่าลงไปเรื่อยๆจนทำให้หลายคนต้องปิดกิจการไป”
“ปี 2520 ประเทศแถบภาคตะวันออกกลางเปิดรับแรงงานต่างประเทศ ได้เงินเดือนสูงเดือนละ 10,000 บาทขึ้นไป ถือว่าสูงแล้วในสมัยนั้นแต่ต้องต่อสู้กับอากาศที่ร้อนมาก และต้องมีความรู้ในด้านงานช่าง ก่อสร้าง ผมไม่เคยมีความรู้ในด้านนี้มาก่อน เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าและเห็นว่ามันเป็นเรื่องท้าทายดี จึงตัดสิ้นใจสมัครงานไว้กับบริษัทจัดหางานงาและเข้าเรียนเป็นช่างไฟฟ้ากับหน่วยงานสารพัดช่างที่เปิดอยู่ใกล้บ้าน ในขณะที่เรียนรู้แบบครึ่งๆ กลางๆ ก็ถูกบริษัทคัดเลือกตัวให้ไปทำงานที่แระเทศซาอุดิอาระเบีย โดยที่ตัวเองก็ยังไม่มมีความพร้อมรวมถึงความรู้ไปหาเอาข้างหน้าหอบตำราไปด้วย อากาศร้อนคนซาอุฯ อยู่ได้เราก็อยู่ได้ ไม่มีอะไรปิดกั้นในสิ่งที่เราแสวงหาที่จะเรียนรู้ ผมทำงานที่นั้นได้ 2 ปี ก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นโฟว์แมน เพื่อนร่วมงานและฝรั่งไม่เชื่อว่าผมมีความรู้พื้นฐานแค่เรียนสารพัดช่างเพียง 2 เดือน ส่วนใหญ่คิดว่าผมจบด้านไฟฟ้ามาโดยเฉพาะ ระหว่างที่ทำงานได้ศึกษาเรียนรู้งานก่อสร้างกับผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ผมเป็นคนไม่ปิดกั้นตัวเองในการเรียนรู้ คิดว่าวันหนึ่งเราคงมีโอกาสนำกับมาใช้เพื่อนๆหลังเลิกงานก็จะพักผ่อนจับกลุ่มกันดื่มเหล้าหรือตั้งวงการพนัน”
“แต่ผมหาช่องทางเพื่อที่จะให้ตัวเองได้มีรายได้สูงขึ้น ใช้เวลาว่างค้าขายส่งอาหารให้กับแคมป์คนไทยที่อยู่บริเวณใกล้ๆ และต่อมาได้ขายออกไปเรื่อยจนข้ามเขตเมืองอื่นทำให้ตัวเองมีรายได้มากกว่าเงินเดือน 2-3 เท่าเลยทีเดียว ผมทำงานที่ซาอุฯ 7 ปี กลับเมืองไทยเปิดร้านขายของซุปเปอร์มาเก็ต ฐานะทางครอบครัวก็อยู่ได้แบบสบายไม่ต้องเดือดร้อน”
“ปีนั้นเป็นปีที่ผมได้เรียนวิชาคนอีกวิชาหนึ่ง มีญาติและเพื่อนที่คุ้นเคยกันชวนร่วมทำธุรกิจ ด้วยความที่เป็นคนที่ไว้วางใจเลยไม่ทันระวังตัว โดนเพื่อนหักหลังโกงจนหมดตัว ทำให้ครอบครัวล่มสลายภายในพริบตา ชีวิตช่วงนั้น มี 2 ทางเลือก คือ 1. ฆ่าคนที่โกงเพื่อเป็นการล้างแค้น แต่มาคิดได้ว่าครอบครัวจะอยู่อย่างไร ลูกจะได้รับการศึกษาหรือไม่หากตัวต้องติดคุก 2.หนีไปให้ไกลเพื่อตั้งหลัก สงบสติอารมณ์ตัวเองแล้วค่อยคิดแก้ปัญหา ผมตัดสินใจเลือกแบบหลัง ยอมเสี่ยงตัวคนเดียว ไม่ยอมเอาครอบครัวไปเสี่ยงด้วย หนีไปทำงานที่ยุโรปทเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ ตกระกำลำบาก สุดท้ายมาโผล่ที่ประเทศเยอรมัน ทำงานแบบไม่มีวีซ่า แต่ทุกอย่างแก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย คิดถึงลูกและเป็นห่วงครอบครัวมาก จึงตัดสินใจกลับมาเมืองไทย เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ความโกรธแค้นกันคนที่ทำลายเรายังครุกรุ่นอยู่ รวมถึงกลัวหักห้ามใจตัวเองไม่ได้ ถ้าตัดสินใจผิดพลาดก็ไม่มีอะไรดีขึ้น เลยตัดสิ้นใจทิ้งครอบครัว หนีไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น แบบไปตายเอาดาบหน้า เพราะผมไม่มีคนรู้จัก ผมทำงานที่ญี่ปุ่น 7 ปี มีความสุขกับการทำงานที่นั้นเมฆหมอกเริ่มจางหายไป เปลี่ยนงาน 2 ครั้ง พระเจ้าก็เปิดโอกาสให้ผมได้พบกับสิ่งดีๆผมทำงานเกี่ยวกับอะไหล่รถยนต็ที่บริษัท ไดมารุ ผมจะทำงานให้นายจ้างเกินค่าแรงที่ตัวเองทำ จนเกิดความไว้วางใจกับนายจ้าง แม้ว่าผมกับมาอยู่เมืองไทยนานแล้ว แต่นายญี่ปุ่นก็จะหาโฮกาสมาเยี่ยมผมเสมอ ปีนี้ท่านก็มาให้ผมพาไปเที่ยวที่เกาะช้าง”
“ผมกลับจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2536 มาทำธุรกิจส่วนตัว เปิดเป็นโรงงานเฟอร์นิเจอร์และรับเหาตกแต่งภายใน ผมมีความเชื่อหมั้นในตัวเองว่าเป็นคนขยัน ชอบความยุติธรรมไม่ชอบความเอารัดเอาเปรียบใคร เหล้าบุหรี่ การพนันผมเลิกหมด ตั้งใจทำงานอย่างทุ่มเท”
ก้าวเข้าสู่การทำธุรกิจกับบริษัท อยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี
“ผมเข้าใจประกันชีวิตดีตั้งแต่ผมทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะเขาถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเขาจะเริ่มทำตั้งแต่แรกเกิดเป็นฉบับแรก ฉบับที่สองคือก่อนหรือหลังแต่งงาน ฉบับที่สามคือทำเพื่อเตรียมเงินไว้ใช่ตอนเกษียณ กลับมาเมืองไทยภรรยาคือคุณธัญพร ได้สมัครเป็นตัวแทนกับประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ปี2536 ต่อจากนั้นไม่กี่เดือนผมจึงได้สมัครสอบเป็นตัวแทนด้วยแต่ไม่ได้ทำจริงจังอะไร จุดหักเหเมื่อธุรกิจผมเมื่อปี 2539 เจอยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตกพอดี ขนาดผมเหล้าไม่ดื่ม บุหรี่ไม่สูบ การพนันไม่เล่น มุ่งแต่ทำงานอย่างเดียวยังเจ๊งเลย ผมเคยมีเพื่อนอยู่ 30-40 ราย คนนั้นเราก็เคยช่วย คนนี้เราก็เคยช่วย ไม่มีเงินเราก็ให้ทีละหมื่นสองหมื่น ช่วยจนเขาพอตั้งตัวได้ เพื่อนที่ผมตกต่ำถึงขีดสุด เราก็หวังว่าเพื่อนจะช่วยเหลือเราได้บ้าง แต่เชื่อไหมว่าไม่มีใครช่วยได้เลย ผมถึงได้บอกลูกบอกหลายว่าใครรักเราจริงไม่จริง ให้ดูตอนที่เราตกต่ำว่าจะเหลือสักกี่คน มันวัดกันตรงนี้ ตอนนั้นผมบอกเจ้าหนี้ทุกคนว่า ถ้าคุณจะฟ้อง คุณฟ้องเลย แต่ผมบอกว่าหนึ่ง ถ้าผมติดคุก คุณจะได้เงินคืนไหม สองอย่าทวงนี้ผม ปล่อยให้ผมทำงานหาเงินเอง เพราะเราไม่ได้ตั้งใจจะเป็นหนี้ บางเจ้าเห็นเราตั้งใจทำงานอย่างหนักยกหนี้ให้ก็มี
อย่างแสนสองแสนนี้มีหลายเจ้า ทุกวันนี้ยังไม่ลืมบุญคุณเขาเลย จนกระทั้งผมได้มาพบกับอาจารย์ประวิทย์ เหล่าพิเดช ซึ่งเป็นตัวแทนอยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. และเคยทำธรกิจขายตรงร่วมกับภรรยาของผม ได้มาเยี่ยมที่ร้านผมเห็นถ้วยรางวัลและโล่ห์มากมายเต็มห้องอยู่และก็เป็นกระแสที่คุณกฤษณะ กฤตมโนรถ ย้ายมาอยู่ที่บริษัทนี้พอดี ก็เป็นช่วงระหว่างผมกำลังตักสินใจว่าจะเอาอย่างไรดีระหว่างกับไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น กับหาช่องทางแก้ปัญหาที่เมืองไทย อ.ประวิทย์ ได้พาคุณไตรภพ ผลค้า มาพบผมที่จังหวัดสกลนคร พูดคุยกันไม่ถึง 5 นาที ผมก็ตัดสินใจเลย ถ้าคิดด้วยเหตุผลอย่างรอบคอบแล้ว อีกอย่างมันท้าทายดีผมก็เลยตัดสินใจมารับตำแหน่งผู้บริหารหน่วย และเวลาต่อมาคุณสมโภชน์ ที่ดูแลพื้นที่อิสานอยู่ขณะนั้น ก็ได้ทำเรื่องแต่งตั้งผมเป็นผู้จัดการสาขาสกลนครหรือจะถือว่าเป็นการชวนถูกจังหวะหรือเปล่าไม่ทราบจึงได้ตัดสินใจก้าวเข้ามาสู้ประกันชีวิตกับบริษัทอยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต”
ปัญหาและอุปสรรค์
“ผมมีลูกค้าลาวเยอะ เพราะเมื่อปี2538 ผมประสบปัญหามีหนี้สิน แม้จะขยันทำงานอย่างหนักแต่ก็ขายไม่ได้สักราย บางคนหาว่าผมเป็นค้ายามาบ้าง เฮโรอินบ้าง บางคนก็มาพูดให้ร้ายจนผมไม่มีสมาธิในการทำงาน ผมจึงตัดสินใจข้ามไปหาลูกค้าที่ผั่งลาวเพื่อที่จะไม่ได้ยินคำติฉินนินทาต่างๆ ตอนข้ามไปใหม่ๆก็ยากนะ สามเดือนแรกก็ยังขายไม่ได้ เพราะเขาไม่รู้จักเรา และเราก็ไม่รู้จักเขา ก็อาศัยตามจากลูกค้าเก่าที่เขาให้ความไว้วางใจพาเราไปรู้จักคนโน้นคนนี้ ก็เลยเกิดเป็นความผูกพัน บางครั้งเขาส่งลูกตัวเล็กๆมาโรงพยาบาล เราก็ตามไปส่งเขาถึงที่บ้านเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดูแลเหมือนเป็นญาติกันเลย”
ต่อสู้เพื่อสำนักงานของตัวเอง
“เมื่อก่อนเป็นสำนักงานสาขา ไม่ใช่เป็นสำนักงานตัวแทน ผมเริ่มงานที่นี่จากศูนย์ ทั้งสาขามีผู้บริหารกับตัวแทนเพียง 2 คน คือผมเป็นผู้บริหารภรรยาเป็นตัวแทน ก่อนที่ผมจะเข้ามาเริ่มต้นที่นี่มีเบี้ยประกันรวมทั้งปีไม่ถึงหมื่นบาท แต่บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเดือนละสี่หมื่นกว่าบาท ผู้ดูแลเขตพื้นที่อิสานบอกว่าจะใช้ผมย้ายไปสังกัดที่สาขาอุดรธานี สาขาสกลนครขาดทุนเยอะจำเป็นต้องปิด ผมขอร้องอย่าเพิ่งปิด ขอให้ผมได้ลงมือทำเต็มที่ก่อน เราก็เพิ่งประกาศตัวเองว่ามาทำงานที่นี่ ก็จะปิดสำงานแล้วหรือ นี่มันหมายถึงหน้าตาและศักดิ์ศรีของเรานะ แรกๆก็ลุยทำเองแบบไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการชวนตัวแทน หรือสอนตัวแทนก็ยังไม่เป็น เพราะเรายังใหม่ต่อธุรกิจ ลองผิดลองถูก เอาผิดเป็นครู เพราะบริษัทฯ ไม่ได้มีวิทยากรสนับสนุนด้านวิชาการเยอะเหมือนทุกวันนี้ จากการทุ่มเทเพื่อรักษาหน้าตาตัวเองเอาไว้เมื่อปี 2542 ทางบริษัทฯ ได้มอบโล่ห์ให้สาขาสกลนครเป็นสาขาที่เติบโตสูงที่สุดและมีตัวแทนในหน่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 50-60 คน”
“ต่อมก็เป็นนโยบายของบริษัท คือ จะเปลี่ยนสำนักงานสาขาเป็นสำนักงานตัวแทน โดยให้ผู้ที่จะมารับช่วงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดและต้องรับพนังงานเดิมเข้าทำงานเองเหมือนเดิม ถ้าผมจำไม่ผิดผมเป็นเจ้าของสำนักงานแห่งแรกในภาคอิสาน แต่ผมโชคดีที่มีภรรยาต่อสู้งานหนักเคียงบ่าเตฃคียงไหล่มาโดยตลอด เรามีเพียงหน่วยงานเดียวที่ต้องเร่งทำงานอย่างหนักเพื่อนำค่าคอมมิสชั่นมาเป็นค่าใช้จ่ายในสำนักงานเพื่อให้ทุกคนในทีมงานมีที่ทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องย้ายไปสังกัดที่จังหวัดอื่น นอกจากนั้นยังได้สนับสนุนผู้บริหารในสังกัดเปิดสำนักงานตัวแทนของตัวเองซึ่งมีสำนักงานในสังกัดทั้งหมด 11 สำนักงาน”
เปิดสำนักงานในโรงพยาบาลแห่งแรก
“ครั้งแรกที่ผมเจ้าไปในโรงบาลเอกอุดร เพราะมีเด็กวัยรุ่นขับรถมาเฉี่ยวรถผม ผมเลยพาเข้าไปที่นั้น เพราะเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญา ผมเห็นว่ามีลูกค้าไม่กี่เตียง ตกแต่งดูดี หรูหรา ที่จอดรถสะดวก เลยพาลูกค้ามารับบริการค่อนข้างมาก ค่าเช่าที่นี้ก็ไม่แพง คือเราพยามรักษาเครดิตของบริษัทฯ และลูกค้าให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างทางบริษัทฯ ก็คือ อู่ข้าวอู่น้ำ เราต้องตรงไปตรงมาไม่ซิกแซก เข้าตำรา ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นานตอนนี้ผมมีเอโอที่ต้องดูแลอยู่ 4 แห่ง มีภรรยาคอยช่วยดูแลที่สาขาโรงพยาบาลเอกอุดรที่เปิดมานานแล้ว ของเราเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดสำนักงานตัวแทนประกันชีวิตในโรงยาบาล”
“ต้องยอมรับนะครับว่า ภาพลักษณ์ของตัวแทนเมื่อก่อนไม่เป็นที่ยอมของคนส่วนใหญ่ การที่ให้โรงพยาบาลเป็นผู้เบิกค่าใช้จ่ายกับบริษัทฯ เองมันเป็นเรื่องใหม่เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ลูกค้าไม่มีความหมั่นใจว่าเบิกได้จริง ผมเป็นตัวแทนกลุ่มแรกที่นำลูกค้าลาวมาใช้บริการที่นี่ ที่โรงพยาบาลเอกอุดร ซึ่งถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในตัวจังหวัดอุดรธานี เราให้บริการเยี่ยมเยือนตลอดเวลาที่ลูกค้าเข้ารับการรักษาเราทำงานเหมือนหมอเยี่ยมไข้ จนลูกค้าลาวที่มาให้บริการคิดว่าผมเป็นหมอ เวลาเจอหน้ากันที่เวียงจันทน์ เขาเรียกผมว่าท่านหมอ เฉพาะคุณธัญพร ภรรยาผม เขาจะเอาใจใส่ดูแลลูกค้าเสมือนญาติมิตร มันเป็นภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับเจ้าของโรงพยาบาลด้วย ผมไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ นอกจากจะของให้ทางโรงพยาบาลบริการลูกค้าให้ดีที่สุดก็พอใจแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่าถ้าเขาเข้ามาบริการจะต้องได้รับบริการจากเราทันที จนในที่สุดเจ้าของประธานโรงพยาบาลได้ตามผมไปที่จังหวัดสกลนครแล้วซักชวนให้มาเปิดศูนย์บริการในโรงพยาบาลเลย โดยท่านได้ยกห้องทำงานเดิมให้เป็นสำนักงานเราเลย ตั้งแต่ปี 2545”
“การเปิดสำนักงานในโรงพยาบาลเราต้องเปิดใจกว้าง พร้อมที่จะรองรับปัญหาของลูกค้าที่จะมาใช้บริการ ซึ่งไม่ใช่ลูกค้าเราโดยตรง และเขาไม่เขาใจหรอกว่าเขาเป็นลูกค้าใคร เราต้องพร้ออมอธิบายและแก้ไข้ปัญหาเบื้องต้นให้กับทุกคนทีเดินมาหาเรา แม้แต่ตัวแทนที่เข้ามาจากทุกภาคที่จะเข้ามาขอใช้บริการ ใบตรวจสุขภาพ เอกสารต่างๆ บางครั้งเราแบ่งหน่วยงานอื่นมากกว่าตัวแทนหน่วยเราก็มี เพื่อรองรับการบริการลูกค้า เรามีสำนักงานในโรงพยาบาล 2 แห่งคือ ที่โรงพยาบาลเอกอุดรในนามภรรยาผม คือ คุณ ธัญพร ปรางค์ทอง ส่วนแห่งที่สองเปิดมาได้ 1 ปีแล้วที่โรงพยาบาลปัญญาเวชอินเตอร์จังหวัดอุดรธานี เปิดใช้ชื่อผมเอง”
คิดอย่างไรเกี่ยวกับอาชีพประกันชีวิต
“ผมบอกว่าไม่ผิดที่ผมจะยึดอาชีพขายประกันชีวิตเป็นอาชีพสุดท้าย เพราะมันสามารถตอบโจทย์ชีวิตผมได้ คือมันสามารถล้างหนี้สินผมได้ภายใน 3 ปี อาชีพประกันชีวิตเป็นอาชีพแห่งโอกาสที่สามารถนำไปมอบให้กับทุกคนที่มองหาความสำเร็จ มันคือหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ มันมีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสารและบุคลิกภาพ ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับการทำงานถึงแม้อายุจะเลยวัยทำงานมาแล้ว อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะคืนสิ่งดีๆ ให้กับสังคมโดยการนำประสบการณ์และความรู้ต่างๆในด้านประกันชีวิตไปถ่ายทอดให้ผู้สนใจ นำสิ่งเหล่านี้ไปชี้นำให้ถูกวิธีเพื่อสนันสนุนให้ทุกคนได้เข้าใจถึงประโยชน์และความมั่นคงในการดำเนินชีวิตตลอดไป”
หลักในการบริหารลูกทีม
“ผมมีหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด 28 หน่วย กระจัดกระจายอยู่ทั้งหมด 29 จังหวัด ผมจะดูแลทุกคนเหมือนลูกหลาน ถ้าเปรียบเป็นหมอก็คือรักษาโรคตามอาการ ผมจะใช้หลักการสอนให้จำทำให้ดู ผมไม่ได้สอนบนกระดานอย่างเดียว มีโอกาสผมก็จะออกไปสาธิตให้เขาดูของจริงด้วยพยายามแสดงให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เราสอนเราก็ต้องปฎิบัติได้ด้วย ฉะนั้นผู้บริหารทุกคนต้องทำตัวเป็นแบบอย่างด้วย”
สิ่งที่ได้รับจากอาชีพประกันชีวิต
“รายได้ที่มากพอ ผมเคยทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นมีรายได้เดือนละหกหลักไม่เคยคิดเลยว่ากลับมาที่เมืองไทยจะมีโอกาส แต่ประกันชีวิตได้ตอบโจทย์รายได้ให้ผมแล้ว ผมมีโอกาสได้พัฒนาตัวเองจากการทำอาชีพนี้ ทำให้เรามีเหตุผลเวลาถ่ายทอดให้ลูกหลานก็สามารถเอาประสบการณ์จริงเราไปถ่ายทอดได้เลย ทุกวันนี้ผมไม่ได้ยึดติดกับคุณวุฒิหรือตำแหน่ง แต่ผมรักอาชีพนี้เพราะมีโอกาสได้ช่วยเหลือสังคม และให้โอกาสกับคนที่ไม่มีโอกาสทำงานอย่างมีความสุขครับ”
ให้โอกาสกับการศึกษาเล่าเรียน
“ผมเป็นคนชอบการเรียนรู้ เนื่องจากฐานะทางครอบครัวจึงมีวุฒิแค่ ม.3 ผมเป็นเด็กค่อนข้างเรียนดี ผลการเรียนประจำปีไม่ต่ำกว่า 90% สมัยนี้เขาเทียบเป็นเกรด คิดอยู่เสมอว่าถ้ามีโอกาสก็จะเดิมเต็มให้กับตัวเองด้านการศึกษา เพื่ออยากให้สังคมย่อมรับว่าเราเป็นคนหนึ่งของสังคมที่วุฒิการศึกษาปริญญา ผมไม่อายที่จะนำพาตัวเองที่มีอายุมากแล้วเข้าไปเรียนอาชีพประกันชีวิตเปิดช่องว่างให้ผมโอกาสเรียนหนังสือโดยไม่ทำให้งานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่และรายได้จะหยุดชะงัก ผมใช้เวลาเรียนเสาร์-อาทิตย์ ภาคสมทบ ได้วุฒิการศึกษา ปวส. เมื่ออายุ 59 ปีและเข้าเรียนจนจบปริญญาตรี ที่ม.ราชภัฎสกลนคร จากนั้นเลือกเรียนต่อการบริหารศึกษาจนจบปริญญาโท ช่วงเรียนปริญญาโท เพื่อนๆเขาคัดเลือกให้เป็นประธานรุ่น ถูกกดดันมากในตำแหน่ง ตั้งใจเรียนจนผลการเรียนออกมาได้ A ทุกวิชา”
ฝากถึงตัวแทนรุ่นใหม่
“อย่างพึ่งเรียกร้องความสำเร็จจากอาชีพนี้เร็วเกินไป จนกว่าจะได้ลงมือทำและพัฒนาตัวเองอาชีพประกันชีวิตเป็นเส้นทางลัดสู่ความสำเร็จ แต่ต้องแรกกับการทำงานหนัก ประกันชีวิตมันไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ไปพูดในสิ่งที่คนไม่เข้าใจในประกันชีวิตให้เข้าใจ และนำเสนอให้ถูกต้องเท่านั้นเอง อย่ามองหาแต่งานที่ถูกใจแต่ไม่สามารถสนองตอบให้รายได้อย่างที่เราต้องการ”
ฝากแนวทางถึงคนคิดที่จะเปิดเอโอ
“การเปิดเอโอเป็นโอกาสที่ให้ได้รับอิสระในการบริหารงาน เวลาเปิดหรือปิดทำการก็เป็นหน้าที่ของเรา ไม่ได้ปิดกั้นเวลาการทำงาน เช่น 7-eleven เขายังเปิดรับตลอด 24 ชั่วโมงเลย การเปิดเอโอคือภาพลักษณ์ของเรา เป็นการสร้างงาน สร้างสถานที่ทำงานให้ทุกคนในหน่วยงานได้รับความสะดวกสะบายขึ้น ถ้าคิดได้อย่างนี้ก็จะเปิดเอโอได้อย่างมีความสุข”
คุณเกียรตินิยมผู้คว่ำหวอดกับวงการประชีวิตมายาวนาน ได้ให้แนวคิดที่มีประโยชน์มากมายทั้งในเรื่องการให้โอกาสกับตนเองและคนอื่นให้รู้จักการแบ่งปัน และการสู้ชีวิต เพราะไม่มีอะไรลิขิตชีวิตเราได้ นอกจากตัวเราเอง
ที่มา : Ayudhay Allianz C.P. STAR ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
< Prev | Next > |
---|