SUPREME 24

   
ตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพ
  บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต โดย คุณรุ่งนภา สดงาม
สนใจร่วมกับทีมงานตัวแทนประกันชีวิต มืออาชีพ บริหารงานโดย คุณรุ่งนภา โทร. 086-3341466
สนใจร่วมกับทีมงานตัวแทนประกันชีวิต มืออาชีพ บริหารงานโดย คุณรุ่งนภา โทร. 086-3341466

เก็งข้อสอบ จรรยาบรรณตัวแทน

จรรยาบรรณข้อ 1
“มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกัน บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ”

1. นาง ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท หนึ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมานาน ทำให้หาลูกค้าได้ง่าย แต่บริษัทนี้ขายกรมธรรม์แบบที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงกว่าบริษัท สอง จำกัด นาง ก. ต้องการเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท สอง จำกัด ด้วย เนื่องจากมีแบบการประกันภัยที่จ่ายเบี้ยประกันภัยน้อยกว่าบริษัท หนึ่ง จำกัด และนาง ก. ทราบดีว่า บริษัท หนึ่ง จำกัด คงไม่ยินยอมให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท สอง จำกัด ด้วยดังนั้นจึงชักชวนให้น้องสาวมาสมัครเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัท สอง จำกัด โดยนาง ก. เป็นผู้ขายประกันชีวิตแทนน้องสาว นาง ก. จะพิจารณาว่าลูกค้ารายใดควรจะทำประกันชีวิตกับบริษัท หนึ่ง จำกัด หรือ บริษัท สอง จำกัด การกระทำของนาง ก. ถูกหรือผิดจรรยาบรรณผู้ประกอบอาชีพตัวแทนประกันชีวิต

ก. ถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิต
ข. ผิด เพราะไม่แจ้งแก่ลูกค้าว่าเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทใด
ค. ถูก เพราะเป็นการตั้งใจให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า
ง. ผิด เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อบริษัทและผู้เอาประกันภัย


2. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งประพฤติผิดจรรยาบรรณ โดยชักชวนให้เพื่อนชื่อนาย ข. ซึ่งกำลังตกงานเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ มาช่วยขายประกันชีวิตให้ตน โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้า นาย ข. หาลูกค้าได้ 1 ราย ตนจะจ่ายเงินให้ 1,500 บาท หลังจากที่ นาย ข. หาลูกค้าได้ 2-3 ราย ก็เกิดความคิดว่า ถ้าตนเป็นตัวแทนประกันชีวิตก็คงจะได้รับผลตอบแทนมากกว่านี้ จึงสอบเข้าเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทเดียวกับ นาย ก. โดยไม่ได้บอกให้นาย ก. รู้ เมื่อนาย ก. มีลูกค้าประสงค์จะทำประกันชีวิต นาย ก. ก็ให้ นาย ข. ไปช่วยอธิบายเรื่องการทำประกันชีวิตให้ลูกค้า และเมื่อลูกค้าตกลงทำประกันชีวิต นาย ข. จะให้ลูกค้ากรอกใบคำขอทำประกันชีวิตเป็นลูกค้าของตน และกลับมาบอกนาย ก. ว่า ลูกค้าไม่ยอมทำประกันชีวิตแล้ว ท่านคิดว่าการกระทำของนาย ข. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่

ก. ผิด เพราะ นาย ข. ไม่ซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมงาน
ข. ผิด เพราะ นาย ข. ไม่ซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
ค. ไม่ผิด เพราะ นาย ข. ไม่จำเป็นต้องบอกใครๆ ว่าตนเป็นตัวแทนประกันชีวิต
ง. ไม่ผิด เพราะ ผู้เอาประกันภัยตกลงทำประกันชีวิตกับนาย ข. เอง


3. นาย ก. ตกลงทำประกันชีวิต และได้ชำระเบี้ยประกันภัยผ่าน นาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต นาย ข. เห็นว่า การชำระเบี้ยประกันภัยมีระยะเวลาผ่อนผัน 30 วัน จึงนำเงินนั้นไปใช้ส่วนตัว และนำส่งบริษัทภายหลัง โดยไม่เกินระยะเวลาผ่อนผันนั้น ท่านคิดว่าการกระทำของนาย ข. ถูกหรือไม่

ก. ถูก เนื่องจากไม่เกิดผลเสียต่อ นาย ก. และบริษัท
ข. ผิด เนื่องจาก นาย ข. ไม่ซื่อสัตย์ต่อ นาย ก. และบริษัท
ค. ผิด เนื่องจาก นาย ข. ควรบอกกล่าว นาย ก. ก่อน
ง. ไม่มีข้อถูก

จรรยาบรรณข้อ 2
“ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย”

1. ส่วนใหญ่เมื่อตัวแทนประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตไปแล้ว ในปีต่อไปตัวแทนประกันชีวิตมักจะละเลยไม่ไปบริการเก็บเบี้ยประกันภัยทั้ง ๆ ที่บอกกับผู้เอาประกันภัยว่าจะเป็นผู้มาเก็บเบี้ยประกันภัยเอง ถามว่าการละเลยไม่ไปเก็บเบี้ยประกันภัยของตัวแทนประกันชีวิตเป็นการขาดจรรยาบรรณหรือไม่

ก. ขาดจรรยาบรรณ เพราะไม่มีความหมั่นเพียรในการให้บริการ
ข. ขาดจรรยาบรรณ เพราะไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
ค. ไม่ขาดจรรยาบรรณ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องไปชำระเบี้ยเอง
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.


2. ปัญหาที่ตัวแทนประกันชีวิตไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัย และให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบถึงผลเสียนั้น ท่านมีความเห็นว่า

ก. ตัวแทนควรแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าว่าการมาเก็บเบี้ยประกันภัย เป็นเพียงการให้บริการ ถ้าตัวแทนไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัยตามกำหนด เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยต้องส่งเบี้ยประกันภัยให้ถึงบริษัท
ข. เป็นหน้าที่ของตัวแทนที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไปเก็บเบี้ยประกันภัยไม่ตรงตามกำหนด
ค. เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณในข้อที่ไม่ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และไม่ชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึง สิทธิและหน้าที่
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ค.


3. ตัวแทนประกันชีวิตมีการให้บริการผู้เอาประกันภัยอย่างไร

ก. ให้บริการอย่างดีในปีแรก สำหรับปีต่อ ๆ ไปไม่จำเป็นแล้ว เพราะผู้เอาประกันภัยต่างก็รู้หน้าที่ของตนแล้ว
ข. ช่วยกรอกใบคำขอแทนผู้ขอเอาประกันภัย เพื่อจะได้ไม่รบกวนเวลาผู้เอาประกันภัย และเป็นการบริการที่ดี
ค. ให้การบริการต่อผู้เอาประกันภัยที่จ่ายเบี้ยประกันสูงมากกว่าที่จ่ายเบี้ยประกันภัยต่ำ ทั้งนี้เพื่อความยุติธรรมต่อ ทุกฝ่าย
ง. ให้การบริการผู้เอาประกันภัยอย่างสม่ำเสมอ

จรรยาบรรณข้อ 3
“รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก”

1. นาง ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ชักชวนให้นาย ข. ซึ่งเป็นเพื่อนทำประกันชีวิต ต่อมานาย ข. ป่วยเป็นวัณโรค เมื่อนาย ก. ทราบว่า นาย ข. ป่วยเป็นโรคติดต่อ ก็ได้นำเรื่องที่นาย ข. ป่วยไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การกระทำของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะนาย ข. เป็นโรคติดต่อที่สามารถรักษาให้หายได้
ข. ผิด เพราะเปิดเผยความลับของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก
ค. ไม่ผิด เพราะนาย ก. พูดความจริง
ง. ผิด เพราะทำให้สังคมรังเกียจนาย ข.


2. นาย ก. เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง และได้ทราบข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ว่าบริษัทประกันชีวิตที่ตนเองทำงานอยู่นั้นมีฐานะไม่ค่อยจะมั่นคง เนื่องจากมีการทุจริตกันภายใน จึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปแจ้งแก่นาย ก. ซึ่งเป็นเพื่อนกันและกำลังจะทำประกันชีวิตกับบริษัทนี้ การกระทำของนาย ก. นั้น ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะ นาย ก.พูดความจริง
ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก. พูดไปโดยมิได้ตั้งใจให้เกิดผลเสียแก่บริษัท
ค. ผิด เพราะการนำเรื่องดังกล่าวไปบอกแก่ นาย ข. เป็นผลทำให้ นาย ข. ไม่ทำประกันชีวิตกับบริษัท
ง. ผิด เพราะไม่รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของบริษัทต่อบุคคลภายนอก


3. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ชักชวน นาย ข.ทำประกันชีวิตและนาย ข. ได้ระบุให้ภรรยาน้อยเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ นาย ก. ได้นำเรื่องนี้ไปเล่าให้พี่สาวของตน ซึ่งเป็นภรรยาหลวงนาย ข. ฟัง นาย ก. กระทำผิดจรรยาบรรณอาชีพตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะนาย ก. นำความลับของนาย ข. ไปเล่าให้พี่สาวฟัง
ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก.พูดความจริงที่พึงเปิดเผยกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้
ค. ผิด เพราะนาย ก. ไม่ซื่อสัตย์กับนาย ข.
ง. ผิด เพราะนาย ก. นำเรื่องซึ่งได้รับรู้มาจากใบคำขอเอาประกันชีวิตของนาย ข. ไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น

จรรยาบรรณข้อ 4
“เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกัน หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์”

1. นาย ก. เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตแต่ตนเองเป็นโรคร้ายแรง จึงได้ติดต่อนาย ข. ตัวแทนประกันชีวิต ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทว่าจะกรอกในใบคำขอเอาประกันชีวิตอย่างไรดี นาย ข. จึงแนะนำให้ควรปกปิด เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทประกันภัยจะไม่รับทำประกันชีวิตหรือไม่ก็เรียกเบี้ยประกันชีวิตสูงขึ้น ท่านคิดว่า นาย ข. ผิดจรรยาบรรณการเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะนาย ก.เป็นเพื่อนสนิทของตนซึ่งต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ข. ไม่ผิด เพราะการช่วยเหลือคนตกทุกข์แม้จะไม่ใช่เพื่อนของตนเป็นสิ่งที่สมควรอยู่แล้ว
ค. ผิด เพราะไม่เปิดเผยข้อความจริงผู้เอาประกันภัย ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อาจทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะได้
ง. ผิด เพราะไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นนายจ้างของตน


2. เพราะเหตุใดการเปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกันภัยหรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ เป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต

ก. เพราะข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญของผูเอาประกันภัย เช่น ประวัติสุขภาพ เป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพิจารณา ของบริษัทว่าจะรับ ประกันภัยหรือไม่ และจะกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยอย่างไร
ข. การช่วยเหลือปกปิดความจริงอันเป็นสาระสำคัญของผู้เอาประกันภัย หากบริษัททราบความจริงในภายหลังอาจใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ทำให้ลูกค้าไม่ได้ประโยชน์ จากการทำประกันชีวิต
ค. การช่วยปกปิดข้อมูล เพียงเพื่อหวังค่าบำเหน็จเป็นการไม่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวแทนเอง ต่อผู้เอาประกันภัย และต่อบริษัท และทำลายภาพพจน์ของธุรกิจโดยส่วนร่วม
ง. ถูกทุกข้อ


3. ในจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต ข้อที่ให้เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์นั้น คำว่า ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายถึง

ก. ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เอาประกันภัย
ข. ทุกเรื่องที่มีตามในใบคำขอ
ค. ทุกเรื่องที่ตัวแทนประกันชีวิตทราบ
ง. ทุกเรื่องที่บริษัททราบ


4. นาง ก. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในขั้นเริ่มต้น ได้เรียกนาย ข. ลูกชายซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ให้มาทำประกันชีวิต เพื่อที่เมื่อตนตายไปนาย ข. และน้องๆ จะได้เงินก้อนหนึ่งไปทำการค้า นาย ข. จึงได้ทำประกันชีวิตให้นาง ก. โดยกรอกข้อความในใบคำขอว่าไม่ได้ เจ็บป่วย หลังจากนั้นอีก 4 ปี นาง ก. ถึงแก่ความตาย บริษัทได้จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่นาย ข. และน้อง ๆ การกระทำของนาย ข. ผิด จรรยาบรรณและศีลธรรมตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ผิด เพราะไม่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันหรือ เพื่อความสมบูรณ์ของสัญญา
ข. ไม่ผิด เพราะลูกกตัญญูต้องเชื่อฟังพ่อแม่ และทำตามคำขอร้องของแม่ ประกอบกับในกรณีนี้ไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือไม่ บริษัทก็ ต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยอยู่ดีเพราะเกิน 2 ปีแล้ว บริษัทไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญา
ค. ไม่ผิด เพราะทำให้คำขอร้องของแม่เป็นจริง และช่วยให้น้อง ๆ มีเงินทุนในการทำการค้า
ง. ผิด เพราะไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิต

จรรยาบรรณข้อ 5
“ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์”

1. นาย ก. ชักชวนให้นาย ข. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทแห่งหนึ่ง นาย ข. ตกลงใจจะทำประกันชีวิต และต้องการทุนประกันสูง ๆ ทำให้ต้อง จ่ายเบี้ยประกันภัยที่สูงเกินความสามารถที่จะจ่ายได้นาย ก. ควรแนะนำ นาย ข. อย่างไร

ก. ไม่ต้องแนะนำ ทำตามความต้องการของนาย ข.
ข. แนะนำให้นาย ข. แจ้งรายได้สูงกว่าความเป็นจริง
ค. แนะนำนาย ข. ให้ใช้สิทธิในการชำระเบี้ยประกันภัยช้า เนื่องจากมีช่วงเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย
ง. แนะนำให้นาย ข. ทำประกันภัยตามความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย


2. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ได้เสนอขายแบบประกันชีวิตให้นาย ข. ผู้สนใจจะทำประกันชีวิต โดยได้อธิบาย ถึงความคุ้มครอง เงื่อนไข สิทธิ ของกรมธรรม์ประกันภัยแต่ละแบบที่บริษัทมีปรากฏว่านาย ข. ต้องการความคุ้มครองมากกว่าแบบประกันชีวิตที่ บริษัทมี นาย ก. จึงได้เสนอแนะบริษัทให้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้มีความครองตามที่ผู้สนใจทำประกันชีวิตต้องการ ท่านคิดว่าการกระทำของ นาย ก. เป็นอย่างไร

ก. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี
ข. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะไม่หลอกลวงผู้ขอทำประกันภัย
ค. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะรักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้า
ง. ถูกต้อง เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะรักษาผลประโยชน์ให้แก่บริษัท


3. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ชักชวนให้นาย ข. ให้ทำประกันชีวิตที่มีทุนประกันชีวิตสูงและซื้อสัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย จน นาย ก. ไม่มั่นใจว่าตนสามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยได้หรือไม่ อยากทราบว่าการกระทำของนาย ข. ผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตอย่างไร

ก. ไม่ผิด เพราะช่วยให้นาย ข. ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอ
ข. ไม่ผิด เพราะช่วยให้กิจการของบริษัทที่ตนสังกัดเจริญเติบโต
ค. ผิด เพราะผู้เอาประกันภัยอาจไม่จำเป็นในความคุ้มครองตามที่ตัวแทนจัดหาให้
ง. ผิด เพราะให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย

จรรยาบรรณข้อ 6
“ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เอาประกันภัย”

1. ข้อใดเป็นสิ่งที่ตัวแทนประกันชีวิตไม่พึงปฏิบัติ

ก. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น
ข. ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จเพื่อจูงใจให้เอาประกันภัย
ค. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันภัย
ง. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก


2. คุณสมบัติของการเป็นตัวแทนประกันชีวิตข้อหนึ่งบอกว่า ตัวแทนประกันชีวิตต้องมีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อผู้เอาประกันภัยและเพื่อนร่วมอาชีพ ข้อใดต่อไปนี้ที่จะแสดงให้เห็นว่า ตัวแทนประกันชีวิตมีความจริงใจในการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย แต่ประพฤติผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของผู้ ประกอบอาชีพตัวแทนประกันชีวิต

ก. ผู้เอาประกันภัยยังไม่มีเงินชำระเบี้ยประกันภัยของงวดถัดไป จึงเสนอให้ความช่วยเหลือโดยการพาผู้เอา ประกันภัยไปกู้เงิน จากบริษัท เพื่อนำมาชำระเบี้ยประกันภัย
ข. ไปบริการเก็บเบี้ยประกันภัยทุกงวดอย่างสม่ำเสมอ และคอยให้ความช่วยเหลือในการติดต่อกับบริษัทแทนผู้เอา ประกันภัย
ค. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่มีอุดมการณ์ว่าต้องสร้างสรรค์สังคม และหาวิถีทางที่จะให้กลไกของการประกันชีวิต ได้รับใช้สังคมมาก ที่สุด โดยการชักชวนให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยทำประกันชีวิตที่มีแต่ความคุ้มครองการเสียชีวิตเท่านั้น เนื่องจากเบี้ยประกันภัยต่ำ
ง. ผู้ขอเอาประกันชีวิตมีภาระต้องใช้เงินมากในขณะที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยงวดแรกจึงให้ความช่วยเหลือ โดย การลดเงินค่าบำเหน็จจากเบี้ยประกันชีวิตให้ครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการจูงใจให้ทำประกันชีวิต


3. ข้อใดถูกต้อง
ข้อหนึ่ง : การไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อจูงใจให้เอาประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ
ข้อสอง : การที่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยด้วยทุนประกันภัยที่สูง โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึง จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์มากที่สุด


ก. ข้อหนึ่งถูก ข้อสองผิด
ข. ถูกทั้ง หนึ่งและสอง
ค. ข้อหนึ่งผิด ข้อสองถูก
ง. ผิดทั้งข้อ หนึ่งและสอง

จรรยาบรรณข้อ 7
“ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์”

1. นางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต มีความประสงค์จะขายประกันชีวิตให้กับเพื่อน ซึ่งเคยเรียนสถาบันแต่ทราบว่าเพื่อนได้ทำประกันชีวิตอยู่กับบริษัทหนึ่งแล้ว นางสาว ก. จึงบอกให้เพื่อนยกเลิกกรมธรรม์เดิมแล้วมาทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ตนสังกัดอยู่ ท่านคิดว่านางสาว ก. เป็นตัวแทน ประกันชีวิตที่ดีหรือไม่

ก. ไม่ต้องแนะนำ ทำตามความต้องการของนาย ข.
ข. แนะนำให้นาย ข. แจ้งรายได้สูงกว่าความเป็นจริง
ค. แนะนำนาย ข. ให้ใช้สิทธิในการชำระเบี้ยประกันภัยช้า เนื่องจากมีช่วงเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย
ง. ไม่ดี เพราะมีพฤติกรรมขัดต่อหลักจรรยาบรรณที่ว่าไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่


2.นายสมชาย ได้ทำประกันชีวิตไว้กับบริษัท ก. จำกัด ต่อมานายสมชาย ได้สนิทสนมกับนางสาวสมศรีซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท ส. จำกัด เพื่อจะเอาอกเอาใจนางสาวสมศรี ซึ่งนายสมชาย ทราบจากการบอกเล่าของนางสาวสมศรี ว่าเดิมเคยเป็นตัวแทนฯของบริษัท ก. แต่ได้ย้ายมาอยู่ที่บริษัท ส. เพราะบริษัท ก. มีระบบการบริหารงานไม่ดีนายสามชายจึงบอกนางสาวสมศรี ว่าจะเลิกกรมธรรม์เดิมและทำใหม่กับบริษัทที่นางสาวสมศรีเป็นตัวแทนฯ ซึ่งนางสาวสมศรี ก็รับไปดำเนินการให้ด้วยความยินดีเพราะตนเองก็กำลังต้องการเป้าหมายยอดขายจากการกระทำดังกล่าวข้างต้น ท่านคิดว่าข้อใดเป็นการสรุปที่ถูกต้องที่สุด

ก. นางสาวสมศรี ไม่ผิดจรรยาบรรณตัวแทนฯ เพราะไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้นายสมชายเลิกกรมธรรม์เดิม เป็น ความต้องการของ นายสมชายเอง
ข. นายสาวสมศรี ผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต เพราะไม่ได้อธิบายให้ผู้ทำประกันชีวิตเข้าใจว่าจะเสียประโยชน์หากละทิ้งกรมธรรม์เดิม
ค. นายสาวสมศรี ผิดจรรยาบรรณ เพราะกล่าวร้ายทับถมบริษัทประกันภัยอื่น
ง. นางสาวสมศรี ผิดจรรยาบรรณ เพราะกล่าวร้ายทับถมบริษัทประกันภัยอื่น และรวมทั้งไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของ การเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี ที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ที่จะต้องให้คำแนะนำ ที่ถูกต้องให้ผู้เอาประกันภัย อย่าละทิ้งกรมธรรม์เดิม อันจะทำให้ต้องเสียประโยชน์ในการทำประกันชีวิต


3. นาง ก. ได้ทำประกันชีวิตไว้กับบริษัทแห่งหนึ่งเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ตัวแทนเดิมไม่เคยติดตามดูแลนาง ก. เลย นาย ข. น้องชายนาง ก. จึงไป สมัครเป็นตัวแทนประกันชีวิต แล้วบอกให้นาง ก. ยกเลิกกรมธรรม์เดิมและทำประกันชีวิตใหม่กับตนเพื่อที่นาย ข. จะได้ดูแลนาง ก. อย่างเต็มที่ ดังนี้ ท่านคิดว่า นาย ข. ทำผิดหรือไม่

ก. ผิด เพราะทำให้นาง ก. เสียเงินใหม่โดยใช่เหตุ
ข. ผิด เพราะทำให้นาง ก. เสียประโยชน์
ค. ไม่ผิด เพราะนาย ข. หวังดีต่อนาง ก. จริง ๆ
ง. ไม่ผิด เพราะนาย ข. ไม่มีเจตนาทำให้นาง ก. เสียหาย


4. บริษัทแห่งหนึ่งอยู่ในช่วงการแข่งขันผลงาน นาย ก. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตจึงพยายามเสนอขายกรมธรรม์ใหม่ให้แก่ลูกค้าเก่าที่ทำมา 2 – 3 ปี โดยนาย ก. ได้บอกแก่นาย ข. ลูกค้าเก่าว่ากรมธรรม?เดิมล้าสมัยกรมธรรม์แบบใหม่ให้ผลประโยชน์มากกว่า แต่นาย ข. บอกว่าขณะนี้เขายังไม่มีเงิน จะมีเงินก็อีก 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะหมดระยะเวลาแข่งขันแล้ว นาย ก. จึงแนะนำนาย ข. ให้ยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อนำเงินมาชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ใหม่ การกระทำของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณเพราะอะไร

ก. เพราะนาย ก. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ข. เพราะนาย ก. แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อซื้อกรมธรรม์ใหม่
ค. เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก

จรรยาบรรณข้อ 8
“ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น”

1. “ตัวแทนประกันชีวิต ได้ลาออกจากบริษัท หนึ่ง จำกัด แล้วมาเป็นตัวแทนประกันชีวิตกับบริษัท สอง จำกัด เมื่อไปชวนลูกค้าทำประกันชีวิตจะบอกกับลูกค้าว่า บริษัท หนึ่ง จำกัด มีวิธีการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัย และได้ให้ลูกค้าทำประกันชีวิตกับบริษัท สอง จำกัด” ถ้าสมมุติว่าท่านเป็นตัวแทนประกันชีวิต ท่านคิดว่าจะขายประกันชีวิตโดยวิธีนี้หรือไม่

ก. ขายวิธีนี้ เพราะลูกค้าต้องทำประกันชีวิตแน่นอน
ข. อาจขายวิธีนี้ เพราะบางครั้งก็จำเป็นต้องหาเหตุที่คิดว่าทำให้ลูกค้าคล้อยตาม และตกลงทำประกันชีวิต
ค. ไม่ขายวิธีนี้ เพราะตัวแทนประกันชีวิตต้องมีจรรยาบรรณและไม่ยอมกล่าวให้ร้ายหรือทับถมบริษัทอื่น แม้จะทำให้ ขายประกันชีวิตไม่ได้ก็ตาม
ง. ไม่ขายวิธีนี้ เพราะถึงอย่างไรลูกค้าก็ทำประกันชีวิตกับตัวแทนประกันชีวิตผู้นี้อยู่แล้ว


2. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จำกัด ได้เสนอขายแบบการประกันชีวิตแบบหนึ่งให้ให้แก่นาง ข. และโอ้อวดแก่นาง ข. ว่า เป็น แบบการประกันชีวิตที่ดี ผลประโยชน์แบบนี้ไม่มีบริษัทใดมีผลประโยชน์ดีกว่านี้อีกแล้ว และเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับอนุญาตจากรรมการประกันภัย ให้ขายได้ การกระทำเช่นนี้เป็นการผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่

ก. ผิด เพราะเป็นการกล่าวในเชิงทับถมบริษัทประกันชีวิตอื่น
ข. ผิด เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัท
ค. ไม่ผิด เพราะไม่ได้กล่าวทับถมบริษัทประกันชีวิตอื่น
ง. ไม่ผิด เพราะที่นาย ก. พูดเป็นความจริง


3. ข้อใดไม่ใช่จรรยาบรรณและศีลธรรมตัวแทนประกันชีวิต

ก. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
ข. ยกย่องแบบประกันชีวิตและบริษัทประกันชีวิตที่ตนทำอยู่อย่างเกินความเป็นจริง
ค. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์เก่า เพื่อทำกรมธรรม์ใหม่หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์
ง. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น

จรรยาบรรณข้อ 9
“หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ”

1. ถ้าตัวแทนประกันชีวิตหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการลูกค้า แสดงให้เห็นว่าตัวแทนประกันชีวิตผู้นั้น

ก. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า เพราะว่าได้ให้บริการที่ดีและเชื่อถือได้ ต่อลูกค้า
ข. มีความประพฤติชอบต่อสังคม เพราะตัวแทนประกันชีวิตผู้นั้นจะรับรับใช้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์สังคม
ค. มีความประพฤติชอบต่ออาชีพ เพราะอาชีพตัวแทนประกันชีวิตเป็นอาชีพอิสระเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ที่ผู้ประกอบอาชีพต้องใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.


2. นาย ก. เป็นหัวหน้าหน่วยตัวแทนประกันชีวิต ของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ซึ่งนาย ก. มีหน้าที่แนะนำความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันชีวิตและเทคนิคการขายประกันชีวิตให้ตัวแทนประกันชีวิตอยู่เสมอ เพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตมีความรู้นำไปใช้ในการให้คำแนะนำผู้เอาประกันอย่างถูกต้อง ดังนั้น นาย ก. ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตข้อใด

ก. มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมอาชีพ
ข. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
ค. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
ง. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม


3. นาย ก. และ นาย ข. นอกจากจะเป็นเพื่อนกันแล้ว ยังเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทเดียวกันด้วย ต่อมา นาย ก. ทราบว่านาย ข. ได้ไปเรียนเพิ่มเติมวิชาโหราศาสตร์ เมื่อพบปะกัน นาย ก. จึงได้ต่อว่า นาย ข. ที่เสียเวลาเรียนเพิ่มเติมดังกล่าว ซึ่งต้องให้ระยะเวลาในการเรียน 1 เดือนเต็มเพราะนอกจากจะเสียเวลาในการทำมาหากินแล้ว ยังไม่ตรงกับวิชาชีพของตัวแทนประกันชีวิต จงพิจารณาข้อความข้างล่างนี้ว่าข้อใดถูกต้องมากที่สุด

ก. การกระทำของ นาย ข. นั้นสมควร เพราะถือว่าตัวแทนประกันชีวิตที่ดีนั้น ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
ข. การกระทำของ นาย ข. นั้นไม่ผิดจรรยาบรรณ เพราะเป็นสิทธิของ นาย ข. ที่จะไปเรียนหรือทำอะไร ตราบใดที่ ไม่ทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์
ค. การกระทำของ นาย ข. นั้นไม่สมควรเอาเยี่ยงอย่าง เพราะเสียเวลาในการทำมาหากิน ซึ่งขัดกับจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต
ง. การกระทำของ นาย ข. นั้นไม่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะทำให้ไม่มีเวลาในการบริการลูกค้าแล้ว หลักสูตรที่เรียนก็ไม่ตรงกับความต้องการของตัวแทน ที่เน้นเรื่องการขายประกันชีวิต

จรรยาบรรณข้อ 10
“ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ”

1. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิติที่ชอบดื่มเหล้าครั้งละมากๆ เป็นประจำ และมีภรรยาหลายคนเพื่อให้ช่วยบริการลุกค้า แต่นาย ก. ก็ไม่เคยก่อความเสียหายใดๆ แก่ผู้เอาประกัน รวมทั้งยังคงให้บริการที่ดี แก่ผุ้เอาประกันภัยอย่างสม่ำเสมอด้วย การกระทำของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมอาชีพของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของนาย ก.
ข. ไม่ผิด เพราะว่า นาย ก. ไม่ได้ก่อความเสียหายใด ๆ แก่ผู้เอาประกันภัย
ค. ผิด เพราะว่านาย ก. ไม่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม
ง. ผิด เพราะว่านาย ก. มีภรรยาหลายคนโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส


2. ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีนั้น

ก. จะต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม ประเพณีอันดีงาม ธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีและคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ
ข. จะต้องซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิต มากกว่าผู้เอาประกันภัย
ค. จะต้องขายประกันชีวิตให้ได้มากี่สุด เพื่อต้องการเงินค่าบำเหน็จเพียงอย่างเดียว
ง. ถูกทั้ง ก. ,ข. และ ค.


3. จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิตข้อใดที่ปฏิบัติได้ยากที่สุด แต่ถ้าใครปฏิบัติข้อนี้ได้อย่างจริงจังจะได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีและยอดเยี่ยมยิ่งของธุรกิจประกันภัย

ก. จมีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัทและเพื่อร่วมอาชีพ
ข. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น
ค. รักษาความลับอันมิควรเปิดเผย ของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
ง. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ



เว็บไซต์ SUPREME24.net เป็นเว็บไซต์ทีมงานตัวแทนประกันชีวิต ทีม SUPREME 24 บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จัดทำขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลช่วย
ในการตัดสินใจสมัครเป็นตัวแทนประจำหน่วยงานเท่านั้น มิได้เกี่ยวข้อง/เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของ เว็บไซต์ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด
สนใจร่วมกับทีมงานตัวแทนประกันชีวิต มืออาชีพ บริหารงานโดย คุณรุ่งนภา โทร. 086-3341466

บริหารงานโดย คุณรุ่งนภา


สนใจร่วมกับทีมงานตัวแทนประกันชีวิต
มืออาชีพ บริหารงานโดย คุณรุ่งนภา
Tel/Line: 086-3341466

Since 19.10.09
You are here: Home ติวสอบตัวแทน ฝึกทำข้อสอบตัวแทน ข้อสอบ จรรยาบรรณตัวแทน